ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสาน พระราชปณิธานต่อในงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มีการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. หน่วยงาน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ การนี้ จึงได้จัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 12 ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ในวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเพื่อให้เยาวชน ประชาชน นักวิชาการ ภาคเอกชน และผู้กำหนดนโยบาย ได้เห็นความหลายหลากแห่งศักยภาพของ ทรัพยากรไทย ได้เข้ามาเรียนรู้ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว การอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน อันเป็นผลประโยชน์แท้แก่มหาชนไทย นำไปสู่การผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย เพื่อก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ จนสามารถนำสิ่งดีงามสู่ตาโลก และให้แต่ละหน่วยงานได้กลับมาทบทวนศักยภาพความสามารถ ฐานข้อมูลต่างๆ ในชื่อว่า “ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” เพื่อนำฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งนำมาสู่การแสดงศักยภาพของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ในชื่อว่า “ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” อันเป็นฐานในการ รักษา สืบสาน ต่อยอด ตามพระบรมราโชบายต่อไป
ในการนี้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดจัดการประชุมวิชาการชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 12 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2568 จึงขอเชิญหน่วยงานต่างๆ ส่งบทความฉบับเต็มร่วมนำเสนอในงานประชุมวิชาการ โดยเรื่องที่นำมาจัดแสดงจะต้องเป็นผลงานที่หน่วยงานได้ร่วมสนองพระราชดำริในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. เป็นผลงานที่ดำเนินการในพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เท่านั้น
2. เป็นผลงานในพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรที่ อพ.สธ. และหน่วยงานสนองพระราชดำริได้ร่วมสำรวจแล้ว
3. เป็นผลงานที่ดำเนินการภายใต้กรอบ/กิจกรรมของ อพ.สธ. โดยสถาบันหรือหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เท่านั้น
4. ต้องเป็นผลงานที่ปรากฏอยู่ในแผนแม่บท อพ.สธ.- หน่วยงาน
5. ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยนำเสนอที่ใดมาก่อน

ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ
1. คณาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. คณาจารย์และนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาภายนอก
3. นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการประชุม
จัดการประชุม  เป็นการประชุมในสถานที่ (Onsite) โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. ช่วงเช้า เป็นการบรรยายพิเศษ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
2. ช่วงบ่าย เป็นการนำเสนอบทความวิจัย ในรูปแบบนำเสนอภาคบรรยาย (Oral Presentation) โดยมีระยะเวลาการนำเสนอ 15 นาที ซักถาม 5 นาที รวมเวลา 20 นาทีต่อบทความ

Top