in about
65. 11. 14
ฮิต: 10464

สารบัญ

หลักการและเหตุผล

      การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ตามแนวทางที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาตินั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความรู้ และความก้าวหน้า          ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนากำลังคนที่เหมาะสม เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งได้ระบุวาระการพัฒนาที่เน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) รวมถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย ตลอดจนรองรับผลกระทบจากพลวัตของกระบวนการโลกาภิวัตน์ การย้ายขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ ตลอดจนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruption) ที่ต้องการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม หลังการแพร่ระบาด COVID-19 ลดลง จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น และแปรสถานะเป็น Driving force ให้ทุกภาคส่วนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะการศึกษาและพัฒนากำลังคนต้องปรับตัวให้เร็วขึ้นแข่งกับสถานการณ์ ข้างต้น การปรับบทบาทสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยเป็นฟันเฟืองสำคัญ เพื่อสร้างคน สร้างองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ท้าทายของประเทศ ผ่านการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจกลุ่มมหาวิทยาลัย ปรับเปลี่ยนหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งจัดระบบและการบริหารจัดการ ทั้งนี้ Mindset ที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนจากการวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากอุปทาน (Supply side) เน้นตอบโจทย์ผู้วิจัย เปลี่ยนข้างไปสู่การวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากอุปสงค์ (Demand side) เพื่อตอบโจทย์ประเทศ  ภาคเศรษฐกิจ และภาคสังคม
    การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติโดยเฉพาะการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการพัฒนาการเกษตรสร้างมูลค่า       สู่ภาคอุตสาหกรรม และบริการแห่งอนาคต ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยเป็นภารกิจหนึ่งของงานบริหารผลงานวิจัย และนวัตกรรมการวิจัย ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการก้าวสู่ปีที่ 100 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2577 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาสู่การเป็นนิเวศแห่งสังคมอุดมปัญญาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร จึงได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนาวิชาการ  “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากเครือข่ายสถาบันการศึกษา และบุคลากรภาครัฐ องค์กรเอกชน ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์งานวิจัยในรูปแบบของการบรรยายและการสัมมนาผลงานวิจัยและบริการวิชาการ ทำให้เข้าใจถึงปัญหาซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล และสามารถทำงานวิจัยเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันในการนำผลงานวิจัยต่อยอดขยายผลสร้างประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง


 วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่สาธารณะในรูปแบบของการบรรยายและการสัมมนาผลงานวิจัยและบริการวิชาการ
2. ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันการศึกษา วิจัยและพัฒนาของหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน เพื่อต่อยอดขยายผล พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสาธารณะต่อไป
3. สร้าง Platform แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ให้สร้างประโยชน์ที่เกิด ผลลัพธ์และผลกระทบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 รูปแบบการสัมมนาวิชาการ

    ดำเนินการสัมมนาวิชาการทั้งการประชุม ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเสวนาออนไลน์ (Zoom meeting) การปาฐกถาพิเศษ และการสัมมนาทางวิชาการ ดังนี้

1. การเสวนา “เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก”

2. การสัมมนาทางวิชาการ “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ”
กลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
กลุ่มที่ 2 นวัตกรรมอาหารและการแปรรูป
กลุ่มที่ 3 นวัตกรรมสุขภาพ
กลุ่มที่ 4 นวัตกรรมสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 5 นวัตกรรมการตลาดและธุรกิจการเกษตร

3. ปาฐกถาพิเศษ“นโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับการส่งเสริมนวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ”

4. ปาฐกถาพิเศษ “ภาคเกษตรไทยถึงเวลา Up Skill”

5. เสวนา “พลิกแผนปฏิรูปเกษตรไทยสู่ยุค 5G”
หัวข้อ “เกษตรกรไทยกับเทรนด์ความยั่งยืน”
หัวข้อ “นวัตกรรมเกษตรอุตสาหกรรมสุขภาวะ”
หัวข้อ “สมาร์ทฟาร์ม: ทางออกของการเกษตรไทย?”

Top